คลังคำศัพท์

คติ ๑[คะติ] น. การไป; ความเป็นไป. (ป.).

คติ [คะติ] น. แบบอย่าง, วิธี, แนวทาง. (ป.)

ค่านิยม น. สิ่งที่บุคคลหรือสังคมยึดถือเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจ และกำหนด การกระทำของตนเอง.

เงือก ๒ น. สัตว์นํ้าในนิยาย เล่ากันว่าท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นปลา.

จิตวิทยา [จิดตะ-] น. วิชาว่าด้วยจิต, วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยปรากฏการณ์ พฤติกรรม และกระบวนการของจิต.

จินตนาการ น. การสร้างภาพขึ้นในจิตใจ. (ป. จินฺตน + อาการ).

เจตจำนง[เจด-] น. ความตั้งใจมุ่งหมาย, ความจงใจ.

ชาดก[ ชาดก] น. เรื่องพระพุทธเจ้าที่มีมาในชาติก่อน ๆ ตามที่กล่าวไว้ ในคัมภีร์ชื่อนี้, ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาส่วน ๑ ใน ๙ ส่วนที่ เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์. (ป. ชาตก).

โชค น. สิ่งที่นําผลมาให้โดยคาดหมายได้ยาก เช่น โชคดี โชคร้าย, มักนิยมใช้ในทางดี เช่น นายแดงเป็นคนมีโชค.

ตรรก-, ตรรกะ [ตักกะ] (แบบ) น. ความตรึก, ความคิด. (ส. ตรฺก; ป. ตกฺก).

ตำนาน น. เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง, เรื่อง ราวนมนานที่เล่ากันสืบ ๆ มา, เช่น ตํานานพุทธเจดีย์ สยาม; เรียกพระปริตรบทหนึ่ง ๆ ว่า ตํานาน ในคําว่า เจ็ดตํานาน สิบสองตํานาน.

ทฤษฎี [ทฺริดสะดี] น. ความเห็น; การเห็น, การเห็นด้วยใจ; ลักษณะที่คิดคาด เอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์ หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ. (ส.; ป. ทิฏฺ??). (อ. theory).

นวนิยาย น. บันเทิงคดีร้อยแก้วขนาดยาวรูปแบบหนึ่ง มีตัวละคร โครงเรื่อง เหตุการณ์ในเรื่อง และสถานที่ ที่ทำให้เนื้อเรื่องมีความสมจริง เช่น เรื่องหญิงคนชั่ว ของ ก. สุรางคนางค์ เรื่องผู้ชนะสิบทิศ ของ ยาขอบ เรื่องสี่แผ่นดิน ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เรื่องเรือมนุษย์ ของ กฤษณา อโศกสิน, ถ้ามีขนาดสั้น เรียกว่า นวนิยายขนาดสั้น เช่น เรื่องดรรชนีนาง.

นัย [ไน, ไนยะ] น. ข้อสําคัญ เช่น นัยแห่งเรื่องนี้; ความ, ความหมาย, เช่น หลายนัย; แนว, ทาง, เช่น ตีความได้หลายนัย; แง่ เช่น อีกนัยหนึ่ง. (ป. นย).

นางไม้ น. ผีผู้หญิงที่เชื่อว่าสิงอยู่ตามต้นไม้ใหญ่มีต้นตะเคียนเป็นต้น.

นิทาน น. เรื่องที่เล่ากันมา เช่น นิทานชาดก นิทานอีสป; เหตุ เช่น โรคนิทาน; เรื่องเดิม เช่นวัตถุนิทาน. (ป.).

นิยาย น. เรื่องที่เล่ากันมา

นิรุกติศาสตร์ น. วิชาว่าด้วยที่มาและความหมายของคํา. (ส.).

ประพันธ์ ก. แต่ง, เรียบเรียง, ร้อยกรอง, ผูกถ้อยคําเป็นข้อความเชิงวรรณคดี. (ส. ปฺรพนฺธ; ป. ปพนฺธ).

ประวัติศาสตร์ [ปฺระหฺวัดติสาด, ปฺระหฺวัดสาด] น. วิชาว่าด้วยเหตุการณ์ที่ เป็นมาหรือเรื่องราวของประเทศชาติเป็นต้นตามที่บันทึกไว้ เป็นหลักฐาน.

ปรัชญา [ปฺรัดยา, ปฺรัดชะยา] น. วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง. (ส.).

ปรัมปรา [ปะรําปะรา] ว. สืบ ๆ กันมา, เก่าก่อน. (ป., ส.).

ปาฏิหาริย์ [-ติหาน] น. สิ่งที่น่าอัศจรรย์, ความอัศจรรย์, มี ๓ อย่าง คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ = ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ ที่พ้นวิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๒. อาเทสนา ปาฏิหาริย์ = การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจ คนได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = การสอนเป็น อัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไป ตามได้อย่างน่าอัศจรรย์. (ปาก) ก. กระทำสิ่งที่ตามปรกติทำ ไม่ได้ เช่น ปาฏิหาริย์ขึ้นไปอยู่บนหลังคา. (ป.).

เปรต, เปรต- [เปฺรด, เปฺรดตะ-] น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์, ผีเลวจําพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่าง สูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหยอกหยอย คอยาว ผอมโซ มีปาก เท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้อง เสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน; คําเรียกเป็นเชิงด่าหรือปรามาส คนที่อดอยากผอมโซ เที่ยวรบกวนขอเขากิน หรือเมื่อมีใครได้โชค ลาภก็เข้ามาขอแบ่งปันเป็นอย่างขอแบ่งส่วนบุญหรือในทํานอง เช่นนั้น ว่า เปรต หรือ อ้ายเปรต. (ส.; ป. เปต).

ภารตวิทยา น. วิชาที่เกี่ยวกับประเทศอินเดีย มีศาสนา ปรัชญา วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษา วรรณคดี เป็นต้น. (ส.).

มานุษยวิทยา [มานุดสะยะ-, มานุด-] น. วิชาว่าด้วยเรื่องตัวคน และสิ่งที่คนสร้างขึ้น. (อ. anthropology).

มุขบาฐ, มุขปาฐะ [มุกขะบาด, มุกขะ-] น. การต่อปากกันมา, การบอกเล่าต่อ ๆ กันมาโดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร, เช่น เรื่องนี้สืบมาโดยมุขบาฐ เรื่องนี้เป็นมุขปาฐะ.

ราชบัณฑิต [–บันดิด] น. นักปราชญ์หลวงมีความรู้ทางภาษาบาลี; สมาชิกองค์การวิทยาการของรัฐที่เรียกว่า ราชบัณฑิตยสถาน.

ฤคเวท [รึกคะเวด] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๑ ของพระเวท ใช้ภาษาสันสกฤตรุ่นเก่าที่สุด ประพันธ์เป็นฉันท์ มีอายุประมาณ ๕๐๐ ถึง ๑,๐๐๐ ปีก่อนพุทธกาล, อิรุพเพท ก็ว่า. (ส.; ป. อิรุพฺเพท). (ดู เวท, เวท ประกอบ).

ฤทธิ์ [ริด] น. อํานาจศักดิ์สิทธิ์, แรงอํานาจ, เช่น เทวดามีฤทธิ์. (ส.; ป. อิทฺธิ).

วรรณกรรม น. งานหนังสือ, งานประพันธ์, บทประพันธ์ทุกชนิด ทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง, เช่น วรรณกรรมสมัย รัตนโกสินทร์ วรรณกรรมของเสฐียรโกเศศ วรรณกรรมฝรั่งเศส วรรณกรรมประเภทสื่อสารมวลชน; (กฎ) งานนิพนธ์ที่ทำขึ้น ทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัยสุนทรพจน์ และหมายความรวมถึงโปรแกรม คอมพิวเตอร์ด้วย.

วรรณคดี น. วรรณกรรมที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดีมีคุณค่า เชิงวรรณศิลป์ถึงขนาด เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน มัทนะพาธา สามก๊ก เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน.

วีรบุรุษ [วีระบุหฺรุด] น. ชายที่ได้รับยกย่องว่ามีความกล้าหาญ. (ส. วีรปุรุษ).

สมมต, สมมติ, สมมติ, สมมุติ, สมมุติ [สมมด, สมมด, สมมดติ, สมมุด, สมมุดติ] ก. รู้สึกนึกเอาว่า เช่น สมมติให้ตุ๊กตาเป็นน้อง. สัน. ต่างว่า, ถือเอาว่า, เช่น สมมุติว่าได้มรดกสิบล้าน จะบริจาคช่วยคนยากจน สมมุติว่า ถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑ จะไปเที่ยวรอบโลก. ว. ที่ยอมรับ ตกลงกันเองโดยปริยายโดยไม่คํานึงถึงสภาพที่แท้จริง เช่น สมมติเทพ.

สังฆราช [ราด] น. ตําแหน่งพระมหาเถระผู้เป็นใหญ่สูงสุดในสังฆมณฑล. (ป.).

สารัตถ–, สารัตถะ [สารัดถะ–] น. เนื้อหาหลัก, ใจความสําคัญ, ความคิดสําคัญ ของเรื่อง.

สุภาษิต น. ถ้อยคําหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มี ความหมายเป็นคติสอนใจ เช่น รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ ต่อ นํ้าเชี่ยวอย่าขวางเรือ. (ส.; ป. สุภาสิต ว่า ถ้อยคําที่กล่าวดี แล้ว).

เสรีนิยม น. ลัทธิเศรษฐกิจสังคมที่ต้องการให้รัฐเข้าไปยุ่งเกี่ยวควบคุม การดำเนินการทางเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตของเอกชน น้อยที่สุด; ทัศนคติทางสังคมที่ต้องการให้บุคคลมีสวัสดิการ ในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้นและกระจายไปยังคนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง. ว. ชอบเสรีภาพ, ที่เป็นไปในทางส่งเสริมเสรีภาพ.

อภินิหาร น. อํานาจแห่งบารมี, อํานาจบุญที่สร้างสมไว้, อํานาจเหนือ ปรกติธรรมดา. (ป. อภินีหาร; ส. อภิ + นิสฺ + หาร).

อาคม [คม] น. เวทมนตร์, บางทีใช้คู่กับ คาถา เป็น คาถาอาคม; การมา, การมาถึง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น มีนาคม คือ มีน + อาคม แปลว่า การมาถึงราศีมีน. (ป., ส.).

อุปรากร [อุปะรากอน, อุบปะรากอน] น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็น ส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์. (อ. opera).

 

ใส่ความเห็น