สรุปการสัมมนา

สรุปผลการสัมมนา

เรื่อง “การวิเคราะห์ความอยู่รอดของนิทานท่ามกลางยุคเทคโนโลยีไร้สาย”

และงานนิทรรศการ “โลกนิทาน”

จัดโดย

นายกำพล พกนนท์  นางสาวกุลธิดา สุธีวร  นางสาวดลดา ชีวะธรรมมานนท์

นายกิตติวัฒน์ พัฒนสาร นายปฏิภาณ ผัสสะผล

ในวันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2554

ณ สถาบันวิจัยวัฒนธรรมและศิลปะ อาคารนวัตกรรมวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยบูรพา

 

ในเวลา 09.30 นาฬิกา ได้มีการการเปิดการสัมมนา พร้อมวัตถุประสงค์ในการจัดงาน โดยพิธีกรในการสัมมนา และประธานกล่าวเปิดงาน มีข้อความโดยสรุป ดังต่อไปนี้

คณะผู้จัดสัมมนา มีโครงการสัมมนา เรื่อง “การวิเคราะห์ความอยู่รอดของนิทานท่ามกลางยุคเทคโนโลยีไร้สาย” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้มีความตระหนักถึงประโยชน์ของการเล่านิทาน

เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทาน เพื่อปรับทัศนคติให้ผู้ใช้เทคโนโลยีไร้สายนำมาใช้ให้เกิดต่อนิทาน และเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาของนิทานท่ามท่ามกลางยุคเทคโนโลยีไร้สายต่อไปในอนาคต

การสัมมนาครั้งนี้ใช้เวลา 3 ชั่วโมง มีผู้ร่วมสัมมนา จำนวน 58 คน ประกอบด้วย นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาสารสนเทศศึกษา และนิสิตภาควิชาสารสนเทศ สาขาวิชาบรรณาธิการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

รองศาสตราจารย์ไพพรรณ อินทนิล ประธาน ได้กระทำพิธีเปิดการสัมมนา โครงการ “การวิเคราะห์ความอยู่รอดของนิทานท่ามกลางยุคเทคโนโลยีไร้สาย”

 

ผลจากการสัมมนา

การสัมมนาเรื่อง “การวิเคราะห์ความอยู่รอดของนิทานท่ามกลางยุคเทคโนโลยีไร้สาย”

และงานนิทรรศการ “โลกนิทาน” มีผู้ร่วมสัมมนา จำนวน 58 คน ประกอบด้วย นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาสารสนเทศศึกษา และนิสิตภาควิชาสารสนเทศ สาขาวิชาบรรณาธิการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้มีความตระหนักถึงประโยชน์ของการเล่านิทานเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทาน เพื่อปรับทัศนคติให้ผู้ใช้เทคโนโลยีไร้สายนำมาใช้ให้เกิดต่อนิทาน และเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาของนิทานท่ามท่ามกลางยุคเทคโนโลยีไร้สายต่อไปในอนาคต

 

 

ประโยชน์ที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับ

ความรู้และประโยชน์ของนิทาน โดย คณะผู้จัดงานสัมมนา

1.             ความหมายของนิทาน

2.             จุดกำเนิดและวิวัฒนาการของนิทาน

3.             บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับนิทาน

4.             ประเภทของนิทาน และการแบ่งประเภทของนิทาน

5.             นิทานพื้นบ้าน

6.             เจ้าหญิงดิสนี่ย์ และบริบทคนชายขอบในสังคมอเมริกา

 

อภิปรายเรื่อง “การวิเคราะห์ความอยู่รอดของนิทานท่ามกลางยุคเทคโนโลยีไร้สาย” โดย ผู้ทรงคุณวุฒิ คุณมกุฏ อรฤดี บรรณาธิการสำนักพิมพ์ผีเสื้อ และอาจารย์พิเศษ สาขาวิชบรรณาธิการ

                1.อาจารย์คิดเห็นอย่างไรกับคำสัมภาษณ์ของผู้ช่วยรัฐมนตรีคนหนึ่ง ที่ว่านิทานอีสปเป็นเรื่องโบราณ สมควรเปลี่ยนให้เหมาะสมกับยุคสมัย

–  เป็น ความคิดที่ผิด นิทานอีสปถือเป็นนิทานอมตะ แต่โดยผุ้เป็นทาส ยกตัวอย่างเรื่องราชสีห์กับหนู ที่แต่งขึ้นเพื่อเตือนสติผู้มีอำนาจอย่างแยบคาย

2. การที่เยาวชนรุ่นใหม่ไม่รู้จักนิทานไทย จะส่งผลในด้านใดบ้าง ความเป็นอัตลักษณ์

–  ถือ เป็นเรื่องอันตรายมาก ที่เด็กรุ่นใหม่ไม่รู้จักเรื่องราวที่เป็นรากเหง้าของชนชาติตัวเอง ในขณะที่สื่อต่างประเทศได้ประดังเข้าสู่เด็กบ้านเรา นานวันเข้า เราจะกลายเป็นเมืองขึ้นทางวัฒนธรรมโดยที่ เกาหลี ญี่ปุ่น อเมริกา ไม่เสียกระสุนสักลูกทำสงคราม

3. เมืองนอกของเมืองไทยมีกระบวนการรักษานิทานวรรณกรรมพื้นบ้านอย่างไร

–  เมือง ไทยเราภาครัฐไม่เคยส่งเสริมเรื่องพวกนี้จริงจัง ทำให้นิทานไทยกำลังเลือนหายไป หากแต่มีนักวิชาการไทยที่ศึกษาทางด้านนี้ หนีไปทำงานที่ประเทศลาว เพราะเขาส่งเสริมสนับสนุนดีมากในขณะที่ ชาติเจริญแล้ว เขาก็รู้จักหนังสือมาเป็นพันปีแล้ว มีมหาวิทยาลัยมา 800 กว่าปีแล้ว การรวบรวมรักษาวรรณกรรมพื้นบ้านของเขาจึงมีมานานแล้ว

4. การดูภาพยนตร์นิทานกับการอ่านหนังสือนิทาน มีความต่างกันอย่างไรในแง่จินตนาการ

–  ยก ตัวอย่างง่ายๆ ให้เด็กดูสโนไวท์ ของดิสนีย์ แล้วให้เด็กวาดรูปสโนไวท์ เด็กร้อยคนก็จะวาดเหมือนดิสนีย์ แต่หากให้เด็กอ่านหนังสือ เขาจะวาดสโนไวท์ออกมาเป็นร้อยแบบไม่ซ้ำกัน เพราะการดูหนังไม่ส่งเสริมจินตนาการเท่าการอ่านหนังสือ

การสัมมนาช่วยให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจในสาระสำคัญของนิทาน ได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และร่วมระดมความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจและมองเห็นถึงปัญหา การประยุกต์นำความรู้ที่ได้จากการสัมมนาไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

 

การประเมินผล

การประเมินผลโดยสรุปของผู้ร่วมสัมมนา จำนวน 58 คน ประกอบด้วย นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาสารสนเทศศึกษา และนิสิตภาควิชาสารสนเทศ สาขาวิชาบรรณาธิการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีดังนี้

ความน่าสนใจของงานสัมมนา

–                   มีการเล่าตัวอย่างนิทานประกอบ ทำให้น่าสนใจ

–                   มีวิทยากรที่มีความรู้ และทรงคุณวุฒิ

–                   นิทรรศการมีสีสัน ดึงดูดความสนใจ

–                   ให้ความรู้เรื่องนิทานได้ครอบคลุมทั้งนิทานสมัยเก่า สมัยใหม่ และนิทานที่นำมาทำเป็นภาพยนตร์

–                   มีการโต้ตอบ ซักถาม แนวคิดระหว่างผู้จัดสัมมนากับวิทยากร

–                   บางหัวข้อพูดนานเกินไป และแทรกสื่อน้อย

การนำเสนอ

–                   ผู้จัดสัมมนามีการพูดติดขัดเล็กน้อย พูดเร็วไป เบาไป ในบางครั้ง

–                   มีการยกตัวอย่างประกอบ ทำให้เข้าใจง่าย และน่าติดตาม

–                   มีการเรียงลำดับเนื้อหาการนำเสนอได้เป็นขั้นตอน

–                   การนำเสนอในบางหัวข้อเน้นนานมากจนเกินไป และนอกประเด็น

–                   นำเสนอในส่วนของนิทานไทย น้อยกว่านิทานสากล

–                   รูปภาพประกอบสื่อที่นำเสนอมีน้อย

–                   เริ่มการนำเสนอช้า และใช้เวลานาน

ความสวยงามของสถานที่จัด

–                   มีการนำสื่อต่างๆ ในหลายรูปแบบมานำเสนอในส่วนของนิทรรศการ เช่น หนังสือ VCD-DVD ตุ๊กตา จิ๊กซอ หุ่นชัก

–                   มีมุมความรู้ต่างๆเกี่ยวกับนิทานมากมาย เช่น โลกของนิทาน นิทานกับศิลปะ สื่อจากนิทาน

–                   นิทรรศการมีสีสันสวยงาม จัดแบ่งโซนต่างๆได้เป็นระเบียบ

ความถูกต้องของข้อมูลเนื้อหา

–                   มีการจัดเรียงลำดับเนื้อหาดี ไม่กระโดดและข้ามไปมา

–                   มีเนื้อหาที่ละเอียด พร้อมทั้งมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูล

–                   เนื้อหาในบางเรื่องไม่ค่อยน่าสนใจ ควรเลือกเรื่องอื่น

–                   เนื้อหาบางหัวข้อมีน้อย ฟังแล้วยังไม่เข้าใจ ควรเพิ่มเนื้อหาเข้าไปอีก

–                   คำศัพท์บางคำควรขยายความหรืออธิบายให้เข้าใจ

ความหลากหลายของสื่อ

–                   มีสื่อที่หลากหลาย น่าสนใจ

–                   ตอนนำเสนอมีเพียงวีดีทัศน์ที่นำมาเปิด ควรจะนำหนังสือ หรือหุ่นมือ มาเสนอด้วย

ข้อเสนอแนะ

–                   powerpoint ที่นำเสนอใช้ขนาดอักษรเล็กเกินไป และภาพประกอบน้อย

–                   ผู้จัดสัมมนาควรมีส่วนร่วมในการนำเสนอทุกคน

–                   ควรแบ่งเวลาให้ดีกว่านี้

–                   ใบประเมิน เป็นแบบเขียนทำให้ไม่ค่อยอยากประเมิน

–                   นิทานมีความสำคัญไม่ใช้เฉพาะกับวัยเด็ก แต่วัยผู้ใหญ่ก็สำคัญเช่นกัน

 

การดำเนินโครงการสัมมนา

นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาสารสนเทศศึกษา และนิสิตภาควิชาสารสนเทศ สาขาวิชาบรรณาธิการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ผู้เข้าร่วมสัมมนายังขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวนิทานกับบทบาทของนิทาน หรือทราบแต่เพียงผิวเผิน ในการประยุกต์ใช้นิทานท่ามกลางยุคเทคโนโลยีไร้สาย

ดังนั้น หลังจากการสัมมนาแล้ว ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ความอยู่รอดของนิทานท่ามกลางยุคเทคโนโลยีไร้สาย ประเมินสถานการณ์ ตลอดจนกำหนด วิสัยทัศน์ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมพัฒนาและการแก้ปัญหา ความอยู่รอดของนิทานท่ามกลางยุคเทคโนโลยีไร้สาย

สรุปผลการสัมมนา เรื่อง “การวิเคราะห์ความอยู่รอดของนิทานท่ามกลางยุคเทคโนโลยีไร้สาย” งานสัมมนาครั้งนี้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้ในเรื่องของนิทานจากมุมมองต่างๆ ที่ได้จากการรับชมรับฟัง ซักถาม โต้ตอบ ของผู้จัดสัมมนาและวิทยากร และจากการชมนิทรรศการ       “โลกนิทาน” จากความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนา  ทำให้ตระหนักเห็นถึงความสำคัญของนิทานไม่ใช้แต่เฉพาะวัยเด็กเท่านั้น แต่กับวัยผู้ใหญ่ก็สำคัญเช่นกัน นิทานช่วยส่งเสริมความคิดและจินตนาการ พร้อมทั้งมีการแทรกคติสอนใจไว้อย่างแยบคายโดยไม่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าตนเองนั้นกำลังถูกสอนอยู่ นิทานยังคงเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงจิตใจของคนในทุกยุคทุกสมัย

โครงการสัมมนา

โครงการสัมมนา

เรื่อง “การวิเคราะห์ความอยู่รอดของนิทานท่ามกลางยุคเทคโนโลยีไร้สาย”

และงานนิทรรศการ “โลกนิทาน”

จัดโดย

นายกำพล พกนนท์  นางสาวกุลธิดา สุธีวร  นางสาวดลดา ชีวะธรรมมานนท์

นายกิตติวัฒน์ พัฒนสาร นายปฏิภาณ ผัสสะผล

ในวันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2554

ณ สถาบันวิจัยวัฒนธรรมและศิลปะ อาคารนวัตกรรมวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยบูรพา

 

หลักการและเหตุผล

กิจกรรม ต่างๆที่ดำเนินผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย และเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ทุกที่และทุกเวลา โดยมีอุปกรณ์คือ Notebook Computer, Portable computer, PDA/PAD Phone, Tablet PC เทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สายเหล่านี้ทำให้เกิดความสะดวกสบาย สามารถเชื่อมต่อกับสื่อที่ให้ความบันเทิงได้หลากหลายรูปแบบทั้งเกมส์ออนไลน์ โทรทัศน์ออนไลน์ วิทยุออนไลน์ และ Social Network ต่างๆ เช่น  Facebook  Twitter  Hi5 ฯลฯ เทคโนโลยีเหล่านี้กำลังส่งผลกระทบต่อเด็ก ทำให้ขาดทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็นต่อการปลูกฝังในวัยเด็ก

วัยเด็กเป็นช่วงวัยแห่งการเรียนรู้ การเลียนแบบ และการสร้างจินตนาการ สิ่งที่เด็กรับรู้ในวัยนี้จะส่งผลถึงระดับการพัฒนาสติปัญญา  และบุคลิกภาพของเด็กในอนาคต นิทานเป็นกิจกรรมที่จำเป็นสำหรับเด็ก ง่ายและเหมาะกับทุกโอกาส และทุกสถานการณ์ เด็กสามารถเรียนรู้ได้ทุกเรื่องจากนิทาน เหตุผลของการฟังนิทานคือทำให้เด็กมีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และนิทานยังช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะการฟัง การพูด การกล้าแสดงออก และนิทานจะสร้างสรรค์นิสัยรักการอ่าน                ด้วยเหตุเหล่านี้จึงได้มีการสัมมนา การวิเคราะห์ความอยู่รอดของนิทานท่ามกลางยุคเทคโนโลยีไร้สาย เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของนิทานที่มีต่อเด็ก และกลุ่มคนทุกวัย

 

วัตถุประสงค์

                1.มีความตระหนักถึงประโยชน์ของการเล่านิทาน

2.เพื่อแลกเปลี่ยน ความรู้ ความคิดเห็น เกี่ยวกับนิทาน

3.เพื่อปรับทัศนคติผู้ใช้เทคโนโลยีไร้สายที่มีผลต่อนิทาน

4.เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาของนิทาน

 

ผู้เข้าร่วมสัมมนา

                นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ

 

วัน เวลา และสถานที่สัมมนา

                วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2554 เวลา 09.00 นาฬิกา ณ สถาบันวิจัยวัฒนธรรมและศิลปะ อาคารนวัตกรรมวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยบูรพา

 

รายละเอียดและวิธีการดำเนินงาน

จัดการ สัมมนา อภิปรายโดยผู้จัดสัมมนา และจัดวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คุณมกุฏ อรฤดี บรรณาธิการสำนักพิมพ์ผีเสื้อ และอาจารย์พิเศษ สาขาวิชาบรรณาธิการ ถาม – ตอบ ปัญหา ร่วมแสดงความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมสัมมนา รับชมความรู้จากงานนิทรรศการ “โลกนิทาน”

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นายกำพล พกนนท์                            รหัสนิสิต 51028546

นางสาวกุลธิดา สุธีวร                        รหัสนิสิต 51028553

นางสาวดลดา ชีวะธรรมมานนท์       รหัสนิสิต 51028614

นายกิตติวัฒน์ พัฒนสาร                    รหัสนิสิต 51121766

นายปฏิภาณ ผัสสะผล                       รหัสนิสิต 51121872

 

งบประมาณ

นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาสารสนเทศศึกษา กลุ่มนิทาน

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการเข้าร่วมสัมมนา

2. ผู้ปกครองเกิดความรู้ความเข้าในตระหนักถึงความสำคัญของนิทาน

3. สามารถปรับใช้เทคโนโลยีไร้สายให้เกิดประโยชน์ต่อนิทานได้

 

การติดตามผล

โดยวิธีการผ่านการตอบรับหลังการสัมมนา บนเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต https://worldfable.wordpress.com

 

กำหนดการสัมมนา

เรื่อง “การวิเคราะห์ความอยู่รอดของนิทานท่ามกลางยุคเทคโนโลยีไร้สาย”

และงานนิทรรศการ “โลกนิทาน”

จัดโดย

นายกำพล พกนนท์  นางสาวกุลธิดา สุธีวร  นางสาวดลดา ชีวะธรรมมานนท์

นายกิตติวัฒน์ พัฒนสาร นายปฏิภาณ ผัสสะผล

ในวันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2554

ณ สถาบันวิจัยวัฒนธรรมและศิลปะ อาคารนวัตกรรมวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยบูรพา

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2554

เวลา 09.00 – 09.30 นาฬิกา             ลงทะเบียน และชมนิทรรศการ “โลกนิทาน”

เวลา 09.30 – 09.45 นาฬิกา             การกล่าวเปิดการสัมมนา พร้อมวัตถุประสงค์ในการจัดงาน โดย นางสาวดลดา ชีวะธรรมมานนท์

และประธานกล่าวเปิดงาน โดย รองศาสตราจารย์ไพพรรณ อินทนิล

เวลา 09.45– 10.45 นาฬิกา              ให้ความรู้และประโยชน์ของนิทาน โดย คณะผู้จัดงานสัมมนา

เวลา 10.45– 11.45 นาฬิกา               อภิปรายเรื่อง “การวิเคราะห์ความอยู่รอดของนิทานท่ามกลางยุคเทคโนโลยีไร้สาย” โดย ผู้ทรงคุณวุฒิ คุณ มกุฏ อรฤดี บรรณาธิการสำนักพิมพ์ผีเสื้อ และอาจารย์พิเศษ สาขาวิชาบรรณาธิการ

เวลา 11.45 – 12.00 นาฬิกา             สรุปผลการสัมมนา พร้อมตอบข้อซักถาม

เวลา 12.00 นาฬิกา                             กล่าวขอบคุณวิทยากร ผู้เข้าร่วมสัมมนา และปิดการสัมมนา